ประชานิยมกรีซสุดท้ายประเทศเหลืออะไร

บทความ   ประชานิยมกรีซสุดท้ายประเทศเหลืออะไร

คนทางยุโรปตอนใต้ส่วนใหญ่ รักสนุก ชอบสบาย ชอบของฟรี (ต่างจากพวกตอนเหนือ) อีกหน่อยคนกรีซส่วนใหญ่คงเป็นได้แค่ลูกจ้างและคงต้องขายทรัพย์สินถูกๆมาใช้หนี้ นี่เป็นบทเรียนราคาแพงที่คนที่ชอบประชานิยมควรดูเอาไว้ ของเราเมื่อ 15 ปีก่อน ตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง เคยขายทรัพย์สิน NPL ถูกๆ แค่ 15 - 20% เท่านั้น ต่างชาติรวยกันเยอะแยะ

เพื่อเข้าใจถึง.. ปัญหากรีซ ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จึงขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่าคนกรีซ ในอดีตได้สร้างความหายนะให้แก่คนกรีซในปัจจุบันอย่างไร

การเมืองกับระบบเศรษฐกิจของกรีซเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก ประเทศกรีซ มีพรรคใหญ่ที่ยึดครองเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอยู่ 2 พรรคคือ

พรรค PASOK และพรรคประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งเราจะเรียกว่าพรรค ND ทั้งสองพรรคต่างใช้นโยบายประชานิยมอย่างเต็มพิกัด เพื่อเอาชนะในการเลือกตั้งตลอดมา..

ปี 2539 – 2549 พรรค PASOK โดยนาย สมิทิส  ก่อนการเลือกตั้ง…
สัญญาว่ากรีซจะได้เป็นสมาชิกสหภาพการเงินยุโรป เงินเฟ้อจะลดดอกเบี้ยจะถูก
สัญญาว่านักลงทุนจะไหลเข้ามา ทุกคนจะมีงานทำ  ทุกคนจะได้ค่าแรงเพิ่ม

และแล้วนาย สมิทิส ก็ชนะเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรี..รัฐบาลของนาย สมิทิส ลดอัตราเงินเฟ้อจาก 15 เปอร์เซ็นต์เหลือเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ อัตราค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นปีละ 3 % และผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศเพิ่มขึ้น (GDP) ถึง4 % เข้าตามเกณฑ์ของสหภาพการเงินยุโรปหรือกลุ่มประเทศยูโรโซน…เป๊ะทุกประการ กรีซจึงได้เข้าเป็นสมาชิกในปี 2544 และได้ใช้เงินสกุลยูโรเป็นเงินสกุลหลักของประเทศ

หลังจาก……เป็นสมาชิกในกลุ่มยูโรโซนได้แล้ว นักลงทุนก็สามารถกู้เงินสกุลยูโรจากอัตราดอกเบี้ย 10.75 % เหลือเพียง 4%เท่านั้น มีการลดภาษีและยกเว้นภาษีทั้งหมดสำหรับการซื้อรถยนต์คันใหม่และไม่มีการขึ้นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาและสาธารณูปโภคอื่นๆ

แต่ภายหลังพบว่า รัฐบาลนาย สมิทิส ได้บิดเบือนตัวเลขงบประมาณของกรีซ โดยจริงๆแล้วขาดดุลถึง 6.1 % ของ GDP แต่โกหกว่าขาดดุลแค่ 3 %  ทั้งนี้เพื่อที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพการเงินยุโรป เพียงเพราะว่า

1.ต้องการดอกเบี้ยถูก 2.เงินทุนไหลเข้า 3.ทำให้ทุกคนมีงานทำ  รัฐบาลและประชาชนจะได้กู้เงินกันอย่างมือเติบ

ปี 2547-2552 พรรค ND โดยนายคารามันลิสก่อนการเลือกตั้งสัญญาว่า

…กรีซจะได้จัดกีฬาโอลิมปิคอย่างแน่นอน
…กรีซจะได้ใช้ “อินเทอร์เน็ตแห่งชาติ”อินเทอร์เน็ตสาธารณะที่ดีที่สุดในยุโรป
…ทุกคนจะมีงานทำและทุกคนจะได้ค่าแรงเพิ่ม นาย คารามันลิส ชนะการเลือกตั้งและได้เป็นนายกรัฐมนตรี

และในปีนี้เองที่ประเทศกรีซ ……….ได้เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิค ซึ่งพบว่าอาคารที่พักนักกีฬา สนามกีฬา ระบบถนนและสนามบินยังไม่เสร็จสมบูรณ์ รัฐบาลของนายคารามันลิสจึงได้ทุ่มงบประมาณจำนวนมากเข้าไปแก้ไขและสำเร็จทันพิธีเปิดไปอย่างเฉียดฉิว

หลังการแข่งขันพบว่า ค่าใช้จ่ายรวมที่ใช้ในการจัดอยู่ที่ 7 พันล้านยูโรซึ่งสูงเป็นสองเท่าของงบประมาณที่ตั้งไว้ทำให้ในปีนั้น กรีซขาดดุลงบประมาณสูงถึง  5.3% และก่อให้เกิดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจากเดิม 382ล้านยูโร แต่ประชาชนมีความสุขเพราะ มีงานทำ…และได้ค่าจ้างสูง…ตรงกับที่สัญญาไว้

ช่วงปลายของรัฐบาลนายคารามันลิส ได้มีการออกนโยบายอย่างมากมายเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างมโหฬารของรัฐบาล

รัฐบาลประกาศไม่ขึ้นเงินเดือนและไม่มีการรับข้าราชการเพิ่ม ส่งผลให้ประชาชนของกรีซที่เสพติดกับการขึ้นค่าจ้างแรงงานต่อต้านและท้ายที่สุดรัฐบาลนายคารามันลิสก็แพ้การเลือกตั้ง

ปี 2552 พรรค PASOK โดยนายจอร์จปาปันเดรอูก่อนการเลือกตั้งสัญญาว่า

……จะมีการขึ้นค่าแรงต่อไป ……และจะไม่มีการลดค่าแรง 580 อาชีพ

.....จะเกษียณก่อนวัยที่อายุ 50 ปี และแล้วนายปาปันเดรอูก็ชนะการเลือกตั้ง และได้เป็นนายกรัฐมนตรี

นโยบายเกษียณก่อนวัย ทำได้จริงประชาชนกรีซที่มีอาชีพจำนวนกว่า 580 อาชีพ เกษียณได้เมื่อผู้หญิงอายุ 50 ปีและผู้ชายอายุได้ 55 ปี ซึ่งกรีซจะต้องจ่ายเงินบำนาญสูงถึง 7 แสนคน หรือ 14 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานทั้งหมด โดยกรีซมีตัวเลขเฉลี่ยของอายุเกษียณอยู่ที่ 61 ปี
ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขเฉลี่ยของคนเกษียณอายุ…………..ที่ต่ำที่สุดในกลุ่มยูโรโซน

แต่ในที่สุด… กรีซก็ไม่สามารถหนีพ้นความเป็นจริง…ไปได้

ต้นปี 2553 รัฐบาลของ นายปาปันเดรอู เริ่มพบว่า รัฐบาลของตนไม่สามารถหาเงินมาจ่ายพันธบัตร ที่ครบอายุได้ดังนั้นกรีซจึงขอความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและ IMF

หลังจากเจรจากรีซได้เงินกู้เป็นจำนวนเงิน110,000 ล้านยูโรโดยแลกกับมาตรการ การรัดเข็มขัดอย่างเข้มข้น เช่น การไม่ขึ้นเงินเดือนทั้งภาครัฐและเอกชน การงดจ่ายเงินโบนัสเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน การเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 21 % ไปเป็น 23 % และการเพิ่มภาษีสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงอีก 10เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

หลังการประกาศมาตรการประชาชนกรีซแสดงการโต้ตอบทันควัน

คนนับหมื่น นับแสน ในกรุงเอเธนส์ต่างหยุดงานและออกมาประท้วงต่อมาตรการดังกล่าว

ทั้งเมืองเอเธนส์เป็นอัมพาตหลายต่อหลายครั้ง
วิบากกรรมของกรีซเพิ่งจะเริ่มต้น
ปัญหาการเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของกรีซยังคงต้องดำเนินต่อไป

แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นคือ ประชาชนชาวกรีซ

เสพติดกับการได้ค่าแรงงานสูงเกินความเป็นจริง

เสพติดกับการได้สวัสดิการที่ดีๆจากรัฐ 
เสพติดกับการกู้ยืมเงินง่ายๆ แม้ว่าจะไม่มีปัญญาจะใช้คืน 
และเสพติดกับความมักง่ายที่เกิดจากนโยบายประชานิยม ที่แต่ละพรรคแข่งกันหยิบยื่นให้มากว่า30 ปี

จากนี้ไปพวกเขาจะมีชีวิตอยู่อย่างไร   จะหากินอย่างไร และจะอยู่กับอนาคตของตัวเองต่อไปอย่างไรไม่มีใครรู้  ? แต่ที่แน่ๆ   คือ ใครจะรู้บ้างว่ากรีซอาจเป็นตัวอย่างให้ประชาชนชาติอื่นทั่วโลกที่อยากได้ประชานิยมเหมือนกับประชาชนของกรีซในเวลานี้ ได้เรียนรู้ถึงถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้นว่ามันจะเป็นอย่างไร

Green City